วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ออกแบบบ้านไม่ให้ร้อน


การออกแบบที่ต้องเริ่มตั้งแต่การวางตำแหน่งตัวบ้านให้ สอดคล้องกับทิศทางของสาย ลม แสงแดดและลมฝน การเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างประเภทที่สามารถลดการสะสมความร้อนถือได้ว่า เป็นวิธีการที่สามารถป้องกันความร้อนไว้ได้ตั้งแต่เริ่มการออกแบบ หรือ ยังไม่ลงมือก่อสร้างนั่นเองครับ ส่วนอาคารบ้านเรือนที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่ได้แต่อย่างใด มีวิธีต่าง ๆ หลากหลายวิธี อาทิ เช่น การติดตั้งฉนวนกันความร้อน การต่อเติมสร้างแผงกันแดดให้กับตัวบ้าน เป็นต้น สำหรับท่านใดที่กำลังอยู่ในช่วงเตรียมการก่อสร้างแล้ว การวางทิศทางของบ้านถือว่าสำคัญมิใช่น้อย โดยเฉพาะด้านกว้างของบ้านตามหลักแล้ว ไม่ควรหันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกเป็นอันขาด เพราะด้านทางทิศตะวันตกจะเป็นด้านที่ได้รับแสงแดดสาดส่องเข้ามาอย่างรุนแรง ที่สุด (หรือ ที่เรียกกันติดปากตามประสาช่างว่า แดดเลีย) เมื่อได้รับการสาดกระทบทุกวันบ้านของท่านก็ยิ่งร้อนมากขึ้น แล้วหันด้านยาวไปทางทิศเหนือ เพราะ ด้านนี้ จะได้รับการสาดกระทบของแสงแดดน้อยกว่า แล้วยังเป็นทิศที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมเขตร้อนชื้นพัดโกรกเข้าออกมากที่สุด และเมื่อมีลมพัดเข้ามามาก สิ่งสำคัญที่จะทำให้กระแสลมพัดพาความเย็นเข้ามาได้อย่างทั่วถึงก็คือ การทำช่องเจาะ เช่น หน้าต่าง ช่องลม เพื่อช่วยให้เกิดการระบายอากาศในบ้านของท่านมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าเมื่อมีช่องระบายอากาศให้ลมเข้าก็ต้องมีช่องระบายอากาศ ให้ลมออกด้วยนะครับ มิเช่นนั้นบรรยากาศแห่งวังวนของความอบอ้าวก็จะคงอยู่ในบ้านท่านตลอดไป
ส่วน การเลือกวัสดุในการก่อสร้างอาคารก็มีความสำคัญ เช่น การใช้ผนังที่สามารถต่อสู้กับความร้อน ซึ่งในท้องตลาดก็มีวัสดุหลายประเภทที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ วิธีการนี้จะช่วยลดการสะสมความร้อนที่พื้นผิวของอาคารได้ค่อนข้างดี เมื่อพื้นผิวของอาคารไม่ร้อน ผนังและตัวอาคาร รวมทั้งบรรยากาศภายในก็ไม่ร้อนเช่นกันครับ สุดท้ายขอฝากเป็นประเด็นหลักให้บรรดาคนรักออกแบบบ้านไม่ให้ร้อนได้ เตรียมการป้องกันอาคารบ้าน เรือนความร้อน คือ ความร้อนจะทะลุทะลวงเข้ามาในอาคารบ้านเรือนของท่านได้ 3 ทางหลัก ๆ คือ ทางหลังคา,ทางผนังและทางช่องเปิด ปิดทวารทั้ง 3 ให้ได้ ปัญหาเรื่องบ้านร้อนก็น่าจะแก้ได้ไม่ยากครับ
ถ้าอยากให้ลมพัดผ่าน บ้านละก็…”หลักการง่ายๆ ให้ลมพัดผ่านอาคาร คือเมื่อมีช่องเปิดรับลมต้องมีช่องระบายให้ลมออก ฉะนั้นควรเจาะหน้าต่างอย่างน้อย 2 ด้าน ขึ้นไป ซึ่งจะยิ่งได้ผลดีหากหน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันในแต่ละห้อง และถ้าหน้าต่างด้านลมออกมีขนาดใหญ่กว่าหน้าต่างด้านลมเข้า ลมที่พัดเข้ามาจะมีความเร็วมากกว่าความเร็วของลมภายนอกในขณะนั้น”
สีของบ้านก็มีผลเช่นกัน…”พื้นผิวอาคารภายนอก ทั้งผนังบ้านและวัสดุมุงหลังคา ควรเลือกใช้สีอ่อนเพื่อให้สะท้อนความร้อนได้ดี”
การ จัดวางตำแหน่งห้องครัว…”หาก มีส่วนของครัวไทย ซึ่งการปรุงอาหารก่อให้เกิดความร้อนสะสมมาก ควรแยกไม่ให้ ติดกับตัวบ้าน เพื่อลดความร้อนที่จะถ่ายเทเข้าสู่พื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรอยู่ใกล้กับห้องปรับอากาศ เพราะทำให้เครื่องปรับอากาศรับภาระในการทำความเย็นหนักขึ้น”
แน่นอน ว่าบ้านที่เย็นสบายต้องมีต้นไม้…”เพิ่ม พื้นที่สีเขียวรอบๆ บ้าน เช่น พื้นหญ้า หรือพื้นที่สวน ให้มีสัดส่วนมากกว่าพื้นแข็ง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิรอบๆบ้าน และลดการสะท้อนรังสีความร้อนเข้าสู่บ้าน (อุณหภูมิอากาศผสมเหนือพื้นผิวคอนกรีตสูงกว่าอุณหภูมิผสมเหนือผิวหญ้า เปียก ถึง 7 องศาเซลเซียส)”
เรื่องน้ำก็สำคัญ…”ขุดสระน้ำใกล้กับตัว บ้าน เพื่อให้ไอเย็นจากน้ำช่วยลดอุณหภูมิของอากาศรอบๆ ตัวบ้านเมื่อลมพัดผ่านในบ้านจึงเย็นสบาย”
“ใช้ น้ำโดยไม่ต้องเปลืองไฟจากการใช้ปั๊มน้ำ โดยต่อท่อตรงแบบไม่ผ่านเครื่องปั๊มไปยังก๊อกน้ำบางจุด เช่น ก๊อกน้ำในสวน ลานซักล้าง หรืออ่างล้างจาน เพราะก๊อกที่อยู่ชั้นล่างยังมีแรงดันจากท่อประปา น้ำอาจไม่แรงเท่าใช้ปั๊ม แต่ก็ช่วยลดค่าไฟไปได้บ้าง”
ควบคุมแสงสว่างในบ้าน…”ลด การใช้ไฟโดยพยายามออกแบบให้ทุกส่วนของบ้าน ทั้งห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ และห้องทำงาน ได้รับแสงธรรมชาติมากที่สุดเพื่อลดความจำเป็นในการเปิดไฟตอนกลางวัน”
และ ส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้า…”ใน ห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศไม่ควรมีบ่อน้ำ หรือน้ำพุ เพราะหลักการของเครื่องปรับอากาศคือการลดอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งการมีน้ำในห้องจะเพิ่มความชื้น ทำให้เครื่องปรับอากาศใช้พลังงานในการลดความชื้นมากกว่าปกติ”
“เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่ก่อให้เกิดความร้อน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น กาต้มน้ำไฟฟ้า เป็นต้น”
“อย่า วางตู้เย็นใกล้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ความร้อนหรือเตาไฟ ตำแหน่งที่ดีที่สุดของตู้เย็น คือ จุดที่เย็นที่สุดในห้อง และจุดที่มีแดดส่อง”… ฯลฯ
ไอเดียเหล่านี้ไม่ยากเลยใช่ไหมที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในออกแบบบ้านไม่ให้ร้อนของบ้านเรา เพื่อช่วยกันลดอุณหภูมิโลก

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

การตกแต่งห้องต่างๆ ภายในบ้านให้น่าอยู่


 

การตกแต่งบ้านให้ห้องต่างๆ มีความน่าสนใจและสวยงามมักเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านควรพึงกระทำอยู่เสมอ ไอเดียการตกแต่งห้องนั่งเล่น หรือห้องรับแขกภายในบ้าน อาจเลือกใช้แสงจากธรรมชาติให้มากที่สุด ควรมีการติดตั้งประตู หน้าต่าง หรือช่องแสงไว้อย่างพอเพียง เลือกใช้วัสดุและโทนสีที่มองแล้วเกิดความสบายตา รู้สึกผ่อนคลาย น่าพักผ่อน คุณสามารถนำโซฟาตัวโปรดมาวางตกแต่งไว้กลางห้องนั่งเล่น หรือห้องรับแขก เพื่อสร้างจุดเด่นให้กับห้องของคุณ กำหนดให้มีช่องทางเชื่อมต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของบริเวณบ้าน สร้างมุมโปรดของคุณหรือมุมอ่านหนังสือเล่มโปรดที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ของสวน ภายในบ้านคุณได้อย่างผ่อนคลาย หรือการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินท์ไว้สำหรับวางหนังสือหรือของประดับ ตกแต่งห้องชิ้นเล็ก ใช้ประโยชน์ของผนังบ้านที่ว่างเปล่าไร้ประโยชน์เป็นที่แขวนกระดานไม้สำหรับ จดบันทึกข้อความกันลืม หรือรายละเอียดสิ่งที่คุณต้องทำในวันถัดไป หรือเลือกประดับด้วยกรอบภาพถ่ายของคนภายในครอบครัวที่จะช่วยสร้างบรรยากาศ อันอบอุ่นแก่ครอบครัว ไอเดียการตกแต่งห้องนอน ควรจะเลือกเตียงนอนที่เหมาะกับคุณ ทดลองนอนว่ารู้สึกสบายกายหรือไม่ อาจปรับแต่งด้วยการใช้มุ้งโปร่งติดตั้งรอบเตียงนอน และอีกหนึ่งให้นำแผ่นเหล็กสวยมาตกแต่งไว้ และนำแผ่นแม่เหล็กที่ได้จากการท่องเที่ยวหรือร้านขายของที่ระลึกมาสะสมไว้ สร้างความทรงจำอันดีแก่คุณ ห้องนอนที่ดีจะต้องมีโทนสีที่สบายตา สามารถสร้างบรรยากาศให้เจ้าของห้องนอนหลับได้อย่างสนิท โดยเฉพาะสีโทนเข้มจะทำให้คุณนอนหลับสบายได้ดีที่สุด เพราะสีเข้มจะไม่สะท้อนแสงและทำให้ห้องนอนของคุณมืดสนิท ในวันสบายๆ คุณควรเปิดหน้าต่างที่มีอยู่ภายในห้องนอนบ้าง เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ภายนอกบ้าน และแสงแดดจากภายนอกบ้าง อากาศจะได้ถ่ายเทอย่างสะดวก เพียงเท่านี้ห้องนอนของคุณก็จะมีบรรยากาศที่น่าอยู่มากขึ้น

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการออกแบบ


ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ มีดังต่อไปนี้
1 งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phaze )
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ
1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่
1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง
1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้
1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ
1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ
1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุยระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Prelininaly Concept )
สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
2 งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phaze )
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้
2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )
2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )
2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )
เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3 งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phaze )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )
3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )
3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )
3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )
3.5 แบบจำลอง ( Model )
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากลูกค้าต้องการทำการแก้ไขส่วนหลักๆ ในแบบร่าง ใน ขั้นตอนนี้ บริษัทจะขอคิดค่าบริการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการเพิ่มงาน หรือจัดว่า เป็นงาน ออกแบบใหม่เลยทีเดียว

รายระเอียดของแบบพิมพ์เขียวมาตรฐาน มีรายละเอียดของแบบพิมพ์เขียว ดังนี้
แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบแสดงรายละเอียดของอาคารประกอบด้วย
- รายการสารบัญแบบ รายการวัสดุพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน
- รายการประกอบแบบ แสดงรายละเอียดตั้งแต่การเตรียมงานก่อสร้าง การเตรียมพื้นที่ งานฐานราก งานโครงสร้าง
งานหลังคา ประตูหน้าต่าง งานสี งานฝ้าเพดานและรายละเอียดอื่น ๆ
- แบบผังบริเวณ แสดงการระบายน้ำออกนอกอาคาร
- แบบแปลนบ้านทุกชั้น แสดงรายละเอียดขนาดกว้างยาวของแต่ละห้องอย่างละเอียด พร้อมระบุรายการวัสดุที่ใช้
- แบบรูปด้านตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน
- แบบรูปตัดแสดงรายละเอียดความสูงของตัวบ้าน รายละเอียดวัสดุก่อสร้าง รายละเอียดโครงหลังคา
- แบบขยายรายละเอียดบันได ระบุวัสดุที่ใช้ทำพื้น ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน รายละเอียดราวบันได
- แบบขยายรายละเอียดห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุรายการวัสดุพื้น ผนัง รายการสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ในห้องน้ำอย่างละเอียด
- แบบขยายรายละเอียดประตู หน้าต่าง พร้อมระบุชนิด ขนาด วงกบ อุปกรณ์บานพับ มือจับ ลูกบิด กลอน
- แบบขยายรายละเอียดอื่นๆ เช่น รายละเอียดส่วนตกแต่ง เช่น คิ้ว บัว กระถางต้นไม้

แบบวิศวโครงสร้าง เป็นแบบแสดงรายละเอียดงานโครงสร้าง ประกอบด้วย
- แบบแปลนตำแหน่ง ขนาดเสาเข็ม พร้อมระยะอย่างละเอียด
- แบบแปลนฐานราก ระบุตำแหน่งพร้อมระยะอย่างละเอียด
- แบบแปลนคาน พื้นทุกชั้น ระบุชนิดของพื้นที่ใช้ เช่น พื้นคอนกรีตหรือพื้นสำเร็จรูป
- แบบโครงหลังคา แสดงรายละเอียดวัสดุหลังคา วัสดุโครงหลังคา ขนาดจันทัน แป ชนิดของกระเบื้อง
- แบบขยายฐานราก เสาเข็ม แสดงรายละเอียดการเสริมเหล็ก ชนิด ขนาดของเหล็ก และรายละเอียดชนิด ขนาดเสาเข็มที่ใช้
- แบบขยายรายละเอียดเสาของบ้านทุกชั้น พร้อมระบุขนาด ชนิดของเหล็ก การรับน้ำหนัก กำลังอัดของคอนกรีต
- แบบขยายคานคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบขยายพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบขยายการเสริมเหล็กบันได พร้อมระบุชนิดและขนาดเหล็กที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบขยายส่วนโครงสร้างอื่นๆ เช่น เอ็นทับหลัง ระเบียง ม้านั่ง เป็นต้น

แบบวิศวสุขาภิบาล เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบสุขาภิบาลของอาคาร ประกอบด้วย
- รายการประกอบแบบสุขาภิบาล มาตรฐานการติดตั้ง และรายการวัสดุที่ใช้อย่างละเอียด
- แบบระบบสุขาภิบาลทุกชั้น แสดงรายระเอียดการเดินท่อ ชนิดและขนาดของท่อ แสดงการระบายน้ำ  ตำแหน่งบ่อพักน้ำรอบตัวบ้าน การต่อมิเตอร์จากท่อประปาสาธารณะ
- แบบขยายรายละเอียดการเดินท่อในห้องน้ำทุกห้อง พร้อมระบุชนิดและขนาดท่ออย่างละเอียด
- แบบขยายรายละเอียดถังบำบัดน้ำเสีย พร้อมระบุชนิดและรายละเอียดการติดตั้ง
- แบบขยายรายละเอียดการติดตั้งสุขภัณฑ์ทุกชนิดอย่างละเอียด

แบบวิศวไฟฟ้า เป็นแบบแสดงรายละเอียดระบบไฟฟ้าของอาคาร ประกอบด้วย
- แบบแปลนไฟฟ้าทุกชั้น แสดงรายละเอียดการติดตั้งดวงโคม สวิทซ์ ทุกชั้น
- แบบแปลนไฟฟ้าแสดงรายละเอียดการติดตั้งปลั๊กไฟ ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กทีวี ไฟฉุกเฉิน กริ่งไฟฟ้า และแผงสวิทซ์บอร์ดทุกชั้น
- รายการประกอบแบบไฟฟ้า ระบุชนิด ยี่ห้อดวงโคมและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อย่างละเอียด
- มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดต่างๆ

แบบขออนุญาตก่อสร้าง : เป็นแบบก่อสร้างที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง และจะต้องส่งแบบ เพื่อขออนุญาต ก่อสร้างตามข้อกำหนดต่าง ๆที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนดไว้ ประกอบด้วย  - รายการประกอบแบบ : บอกถึงรายละเอียดวัสดุ โครงสร้าง ข้อกำหนดของวัสดุ กำลังวัสดุที่ออกแบบไว้
- ผังบริเวณก่อสร้าง : บอกถึงขอบเขตที่ดิน แนวถอยร่นของตัวอาคาร ตามพระราชบัญญัติ
 ระบบบำบัดน้ำเสีย และแนวท่อระบายน้ำ รวมถึงตำแหน่งการระบายน้ำออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ
ทิศของตำแหน่งอาคาร ซึ่งแบบผังบริเวณนี้ จะเป็นแบบที่ใช้วาง ตำแหน่งของอาคารในพื้นที่จริง
และจะถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในพื้นที่จริงว่าถูกต้องหรือไม่
- แผนที่สังเขป : บอกถึงแผนที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการเข้าตรวจสอบพื้นที่จริงของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประโยชน์ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
- แปลนพื้นทุกชั้น และ แปลนหลังคา
- รูปด้าน อย่างน้อย 2 ด้าน (ส่วนใหญ่จะทำรูปด้านทั้ง 4 ด้าน)
- รูปตัด อย่างน้อย 2 รูป
- รูปขยายบันได พร้อมรูปตัดบันได (กรณีอาคาร 2 ชั้นขึ้นไป)
- รูปขยายห้องน้ำ
- แปลนโครงสร้างทุกชั้น และแปลนโครงสร้างหลังคา
- รูปขยายโครงสร้าง
- แปลนระบบสุขาภิบาล
- แบบขยายระบบระบบบำบัดน้ำเสีย
- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพ+สำเนาบัตรสมาชิกสภาวิศวกร
- หนังสือรับรองการออกแบบของสถาปนิก พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก กส.
- หนังสือรับรองการออกแบบของวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกร กว.
- รายการคำนวณโครงสร้างของวิศวกร พร้อมลายเซ็นของวิศวกรทุกแผ่น
- หนังสือรับรองการควบคุมงานของวิศวกรและ/หรือสถาปนิก (แล้วแต่ข้อตกลงในกรณีต้องใช้)
หากท่านได้จัดจ้างให้ผู้ออกแบบทำแบบยื่นขออนุญาตก่อสร้างท่านจะต้องได้ เอกสารเหล่านี้ครบถ้วน (ส่วนใหญ่จะเป็นขอบเขตงานแบบของการทำงาน จากสำนักงานเขต,เทศบาลหรือ อ.บ.ต. บางแห่ง

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

การคำนวณพื้นสองทาง (Two Way Slab Design)

การออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหลักสองทาง หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “พื้นสองทาง” (Two Way Slab) นั่นเองครับ ซึ่งเจ้าพื้นสองทางนี้ก็คือพื้นที่มีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว (S/L) มากกว่า 0.5 นั่นเองครับ ซึ่งจะต้องเป็นพื้นที่มีคานรองรับทั้งสี่ด้าน ทั้งนี้อาจจะเป็นพื้นเดี่ยว (ผืนเดียว) หรือเป็นพื้นต่อเนื่องก็ได้ ในส่วนของการออกแบบพื้นสองทางตามตัวอย่างนี้ จะใช้การออกแบบโดยวิธีที่สอง ตามมาตรฐาน วสท. 1007-43 ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเป็นที่นิยมในการออกแบบครับ โดยจะใช้ค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ (Moment Coefficient) คูณกับน้ำหนักบรรทุก เพื่อปรับค่าการโก่งตัวทั้งในด้านสั้นและด้านยาวให้มีค่าเท่ากันนั่นเองครับ ทั้งนี้เราสามารถประมาณความหนาของพื้นได้จาก 1/180 ของเส้นรอบรูปพื้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 8 cm. ครับ ส่วนพื้นสองทางที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ มีด้านกว้าง (S) 2.4 m. และด้านยาว (L) 4.0 m. ครับ เป็นพื้นไม่ต่อเนื่องกันสองด้าน (พื้นด้านหน้าอาคารตัวริมสุด)
ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ
  • fc‘ = 280 ksc. ; fc = 126 ksc. ; fy = 2400 ksc. ; fs = 1200 ksc.
  • n = 8.07 ; k = 0.4588 ; j = 0.847 ; R = 24.484 ksc.
ประมาณความหนาของพื้น จาก h = (S+L)/90 = 7.1 cm. → 8.0 cm.
น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในการออกแบบ
  • น้ำหนักบรรทุกคงที่ = 2400 x 0.08 = 192 kg/m2
  • น้ำหนักบรรทุกจร = 200 kg/m2
  • น้ำหนักวัสดุปูพื้น = 120 kg/m2
  • รวมน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด (W) = 512 kg/m2
หาค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ (c) จากตาราง (วิธีที่สอง ตามมาตรฐาน วสท. 1007-43) โดยเลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ (c) ที่ให้ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด (ทั้งโมเมนต์ลบและโมเมนต์บวก)
ด้านสั้น (เลือกใช้ค่าที่ให้ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด) จะได้
  • c+ = 0.059 ; c- = 0.078
ด้านยาว (เลือกใช้ค่าที่ให้ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด) จะได้
  • c+ = 0.037 ; c- = 0.049
คำนวณค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นและปริมาณเหล็กเสริม จาก M = cWS2 และ Ast = M/fsjd จะได้
ค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นและปริมาณเหล็กเสริมด้านสั้น
  • M- = 230.03 kg.m. ; Ast = 4.53 cm2
  • M+ = 174.00 kg.m. ; Ast = 3.42 cm2
ค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นและปริมาณเหล็กเสริมด้านยาว
  • M- = 230.03 kg.m. ; Ast = 2.84 cm2
  • M+ = 109.12 kg.m. ; Ast = 2.15 cm2
สรุปรายละเอียดเหล็กเสริมและระยะเรียงของเหล็กเสริม
รายละเอียดเหล็กเสริมและระยะเรียงของเหล็กเสริมด้านสั้น
  • M- เลือกใช้   RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 14 cm.
  • M+ เลือกใช้   RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 18 cm.
รายละเอียดเหล็กเสริมและระยะเรียงของเหล็กเสริมด้านยาว
  • M- เลือกใช้   RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 22 cm.
  • M+ เลือกใช้   RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 29 cm.

วิศวกรโยธา